วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

สมาชิกการจัดการ60 ห้องB



สมาชิกในชั้นเรียน

  อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค    อาจารย์ปาล์ม

1.นายเกียรติศักดิ์ เกตุอักษร      ไฟท์

2.นายจรณะ แท่งทอง     เปา

3.นางสาวเฉลิมพร ศรีมณี     เจล

4.นายชาติศิริ รัตนชู     ติ๊บ

5.นายชินวัฒร์ เพ็ชรโสม     แมน

6.นายณฐกร ชัยปาน     โจ้

7.นายณัฐกร  สงสม     จ๊อบ

8.นายณัฐพล วงศ์สุขมนตรี     เกม

9.นางสาวทัศนีย์วรรณ กาญจโนภาส     ษา


10.นายธัณวัตร์ แก้วบุษบา     ธัน

11.นายนราธร จันทรจิตร     เนม

12.นางสาวนิชาภัทร เพ็ชรวงค์     แอม


13. นางสาวเบญญทิพย์ ฆังคสุวรรณ    อ้าย


14.นางสาวปัถยา บุญชูดำ    ปัด


15.นายพศวัต บุญแท่น    อ๊อฟ


16.นางสาวแพรพลอย พรหมประวัติ     เเพร


17.นายไฟซ้อล ประชานิยม    ซ้อล


18.นายภูมิภัทร์ สรรนุ่ม     อ้วน


19.นายยศกร บัวดำ     ทาย


20.นางสาวรัฐชา วงศ์สุวรรณ     เบญ   


21.นายเรืองศักดิ์ ใหม่แก้ว     เอ็ม

22.นางสาววลีพร ลิขิตธีระกุล     นุ๊ก


23.นายวาทิศ อินทร์ปราบ    เบนซ์


24.นางสาววิภารัตน์ ดำสุข     ออม

25.นางสาวศศิธร ชูปาน     จูน

26.นายศุภกิจ ติเสส     ดุก

27.นายเศรษฐชัย ฐินะกุล     ตาล

28.นายสราวุธ จันทร์แก้ว    ฟิล์ม

29.นายสุชาครีย์ งามศรีตระกูล    เบนซ์

30.นายสุริยา หวันสะเม๊าะ    ดิ้ง

31.นายอนันต์ อาแว    นัง

32.นายอนุวัช นุ่นเอียด     กอล์ฟ

33.นายอภิชัย เสวาริท     บอล

34.นางสาวอรอุมา หมากปาน     ญาญ่า

วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

As/Rs ระบบจัดเก็บและเรียกเก็บวัสดุอัตโนมัติ


ระบบกรจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ        

        ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ  การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

        ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้- Unit Load AS/RS- Miniload AS/RS- Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS- Automated Item Retrieval System- Deep-Lane AS/RS

        องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS1.โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)2.เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
3.หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
4.สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)

        อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS1.รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)2.อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม3.สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
4.สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)

        การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
1.จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
2.หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
3.ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ

        การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ1. ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ2.สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
3.ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ4.สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ5.ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ6.สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน
        ระบบการจัดเก็บสินค้าและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ Automated Storage/Retrieval System (AS/RS)
        ระบบบริหาร การจัดเก็บสินค้า เก็บวัตถุอัตโนมัติ เหมาะกับบริษัทที่ต้องการลดการใช้งานพื้นที่ หรือต้องการเพิ่ม ปริมาณในการจัดเก็บมากขึ้น เช่น คลังสินค้า, โกดังสินค้า, อาคารจอดรถอัตโนมัต, ห้องเก็บสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น
ระบบ ASRS จะมีการทำงานควบคู่อัตโนมัติอย่างเป็นระบบอยู่ 2 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ใช้เทคโนโลยีโรบอทอัตโนมัติ 
กับซอร์ฟแวร์ที่ สามารถพัฒนา นำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่

        ประโยชน์ที่จะได้รับ
        ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า, ลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้า, เพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้า, ทำงานรวดเร็ว แม่นยำ, บริหารทรัพยากรบุคคล, ประหยัดพลังงานไฟฟ้า




        ข้อเสีย
        1.ต้องใช้ งบลงทุน ในเบื้องต้นและงบดำเนินการสูง โดยเฉพาะในการจัดหาสถานีติดตั้งและการสร้าง อุปกรณ์ตรวจวัด เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีระดับสูง
        2.ต้องใช้ บุคลากร ที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะในการดำเนินงาน เนื่องจากต้องการผู้ที่มีความรู้พื้นฐานที่ดีมากพอสำหรับการ บริหารจัดการ ระบบและการ ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลที่ได้
        3.ข้อมูลที่ได้บางครั้งยังขาด ความละเอียด เชิงพื้นที่มากพอ เนื่องมาจากเป็นการสำรวจจากระยะไกล   ทำให้การศึกษาในบางเรื่องอาจมีข้อจำกัดอยู่มากพอควร
        4.ข้อมูลที่ได้บางครั้งยังมี ความคลาดเคลื่อน อยู่สูง ซึ่งเกิดมาได้จากหลายสาเหตุ ทั้งส่วนที่เกิดมาจากความบกพร่องของตัวระบบเอง และส่วนที่เกิดมาจากสภาวะแวดล้อมขณะทำการตรวจวัด











วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์ในงานอุสาหกรรม

                               
                                                                              
หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม 

การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเลียนแบบร่างกายของมนุษย์ โดยจะเลียนแบบเฉพาะส่วนของร่างกายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเท่านั้น นั่นคือช่วงแขนของมนุษย์ ดังนั้น บางคนอาจจะได้ยินคำว่า “แขนกล” ซึ่งก็หมายถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับแขนมนุษย์ แสดงดังรูป
ปัจจุบันและในอนาคตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยจะทำงานแทนมนุษย์ในงานต่างๆ เหล่านี้งานที่อันตราย เช่น งานยกเหล็กเข้าเตาหลอม งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี งานซ้ำซากน่าเบื่อ เช่น งานยกสินค้าจากสายงานการผลิต งานประกอบ งานบรรจุผลิตภัณฑ์งานที่ต้องการคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน เช่น งานเชื่อม งานตัด งานที่ต้องใช้ทักษะความชำนาญสูง เช่น งานเชื่อมแนว เชื่อมเลเซอร์ งานที่ต้องใช้ความละเอียดประณีต เช่น งานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ งานตรวจสอบ (Inspection) ฯลฯ
หุ่นยนต์ คือ เครื่องจักรที่ถูกควบคุมอัตโนมัติ สามารถเขียนโปรแกรมใหม่ได้ ใช้งานเอนกประสงค์ โปรแกรมการเคลื่อนที่จะต้องสามารถโปรแกรมให้เคลื่อนที่ได้อย่างน้อย 3 แกนหรือมากกว่า หุ่นยนต์อาจจะยึดอยู่กับที่หรือย้ายตำแหน่ง (Mobile) เพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม
การแบ่งชนิดของหุ่นยนต์
โดยทั่วไปการแบ่งชนิดของหุ่นยนต์จะแบ่งตามลักษณะรูปทรงของพื้นที่ทำงาน (Envelope Geometric) แต่ก่อนจะอธิบายชนิดของหุ่นยนต์ขออธิบายการทำงานของจุดต่อ (Joint) ของหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมซึ่งในขั้นพื้นฐานมี 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
จุดต่อ (Joint) ทั้งสองแบบเมื่อนำมาต่อเข้าด้วยกันอย่างน้อย 3 แกนหลักจะได้พื้นที่ทำงาน (Work envelope) ที่มีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถนำมาแบ่งชนิดของหุ่นยนต์ได้ดังต่อไปนี้
1. Cartesian (Gantry) Robot
แกนทั้ง 3 ของหุ่นยนต์จะเคลื่อนที่เป็นแบบเชิงเส้น (Prismatic) ถ้าโครงสร้างมีลักษณะคล้าย Overhead Crane จะเรียกว่าเป็นหุ่นยนต์ชนิด Gantry แต่ถ้าหุ่นยนต์ไม่มีขาตั้งหรือขาเป็นแบบอื่น เรียกว่า ชนิด Cartesian
Cartesian Robot Work Envelop Of Cartesian Robot
ข้อดี 
1. เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงทั้ง 3 มิติ
2. การเคลื่อนที่สามารถทำความเข้าใจง่าย
3. มีส่วนประกอบง่ายๆ
4. โครงสร้างแข็งแรงตลอดการเคลื่อนที่
ข้อเสีย
1. ต้องการพื้นที่ติดตั้งมาก
2. บริเวณที่หุ่นยนต์เข้าไปทำงานได้ จะเล็กกว่าขนาดของตัวหุ่นยนต์
3. ไม่สามารถเข้าถึงวัตถุจากทิศทางข้างใต้ได้
4. แกนแบบเชิงเส้นจะ Seal เพื่อป้องกันฝุ่นและของเหลวได้ยาก
การประยุกต์ใช้งาน
เนื่องจากโครงสร้างมีความแข็งแรงตลอดแนวการเคลื่อนที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับงานเคลื่อนย้ายของหนักๆ หรือเรียกว่างาน Pick-and-Place เช่น ใช้โหลดชิ้นงานเข้าเครื่องจักร (Machine loading) ใช้จัดเก็บชิ้นงาน (Stacking) นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในงานประกอบ (Assembly) ที่ไม่ต้องการเข้าถึงในลักษณะที่มีมุมหมุน เช่น ประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และงาน Test ต่างๆ
2. Cylindrical Robot
หุ่นยนต์ประเภทนี้จะมีแกนที่ 2 (ไหล่) และแกนที่ 3 (ข้อศอก) เป็นแบบ Prismatic ส่วนแกนที่ 1 (เอว) จะเป็นแบบหมุน (Revolute) ทำให้การเคลื่อนที่ได้พื้นที่การทำงานเป็นรูปทรงกระบอก ดังรูป
Cylindrical Robot Work Envelop Of Cylindrical Robot
ข้อดี
1. มีส่วนประกอบไม่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
3. สามารถเข้าถึงเครื่องจักรที่มีการเปิด – ปิด หรือเข้าไปในบริเวณที่เป็นช่องหรือโพรงได้ง่าย (Loading) เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าเครื่อง CNC
ข้อเสีย
1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด
2. แกนที่เป็นเชิงเส้นมีความยุ่งยากในการ Seal เพื่อป้องกันฝุ่นและของเหลว
การประยุกต์ใช้งาน
โดยทั่วไปจะใช้ในการหยิบยกชิ้นงาน (Pick-and-Place) หรือป้อนชิ้นงานเข้าเครื่องจักร เพราะสามารถเคลื่อนที่เข้าออกบริเวณที่เป็นช่องโพรงเล็กๆ ได้สะดวก
3. Spherical Robot (Polar)
มีสองแกนที่เคลื่อนในลักษณะการหมุน (Revolute Joint) คือแกนที่ 1 (เอว) และแกนที่ 2 (ไหล่) ส่วนแกนที่ 3 (ข้อศอก) จะเป็นลักษณะของการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง ดังรูป
Spherical Robot Work Envelop Of Spherical Robot
ข้อดี
1. มีปริมาตรการทำงานมากขึ้นเนื่องจากการหมุนของแกนที่ 2 (ไหล่)
2. สามารถที่จะก้มลงมาจับชิ้นงานบนพื้นได้สะดวก
ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) และส่วนประกอบ ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมมีความซับซ้อนขึ้น
การประยุกต์ใช้งาน
ใช้ในงานที่มีการเคลื่อนที่ในแนวตั้ง (Vertical) เพียงเล็กน้อย เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าออกจากเครื่องปั้ม (Press) หรืออาจจะใช้งานเชื่อมจุด (Spot Welding)
4. SCARA Robot
หุ่นยนต์ SCARA (Selective Compliance Assembly Robot Arm) จะมีลักษณะแกนที่ 1 (เอว) และแกนที่ 3 (ข้อศอก) หมุนรอบแกนแนวตั้ง และแกนที่ 2 จะเป็นลักษณะการเคลื่อนที่ขึ้นลง (Prismatic) ดังรูป หุ่นยนต์ SCARA จะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วในแนวระนาบ และมีความแม่นยำสูง
SCARA Robot Work Envelop Of SCARA Robot
ข้อดี
1. สามารถเคลื่อนที่ในแนวระนาบ และขึ้นลงได้รวดเร็ว
2. มีความแม่นยำสูง
ข้อเสีย
1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด
2. ไม่สามารถหมุน (rotation)ในลักษณะมุมต่างๆได้
3. สามารถยกน้ำหนัก (Payload) ได้ไม่มากนัก
การประยุกต์ใช้งาน
เนื่องจากการเคลื่อนที่ในแนวระนาบและขึ้นลงได้รวดเร็วจึงเหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องการความรวดเร็วและการเคลื่อนที่ก็ไม่ต้องการการหมุนมากนัก แต่จะไม่เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางกล (Mechanical Part) ซึ่งส่วนใหญ่การประกอบจะอาศัยการหมุน (Rotation)ในลักษณะมุมต่างๆ นอกจากนี้ SCARA Robot ยังเหมาะกับงานตรวจสอบ (Inspection) งานบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
5. Articulated Arm (Revolute)
ทุกแกนการเคลื่อนที่จะเป็นแบบหมุน (Revolute) รูปแบบการเคลื่อนที่จะคล้ายกับแขนคน ซึ่งจะประกอบด้วยช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือ การเคลื่อนที่ทำให้ได้พื้นที่การทำงาน ดังรูป
Articulated Arm Robot Work Envelop Of Articulated Robot
ข้อดี
1. เนื่องจากทุกแกนจะเคลื่อนที่ในลักษณะ ของการหมุนทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการเข้าไปยังจุดต่างๆ
2. บริเวณข้อต่อ (Joint) สามารถ Seal เพื่อป้องกันฝุ่น ความชื้น หรือน้ำ ได้ง่าย
3. มีพื้นที่การทำงานมาก
4. สามารถเข้าถึงชิ้นงานทั้งจากด้านบน ด้านล่าง
5. เหมาะกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นชุดขับเคลื่อน
ข้อเสีย
1. มีระบบพิกัด (Coordinate) ที่ซับซ้อน
2. การเคลื่อนที่และระบบควบคุมทำความ เข้าใจได้ยากขึ้น
3. ควบคุมให้เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear) ได้ยาก
4.โครงสร้างไม่มั่นคงตลอดช่วงการเคลื่อนที่ เพราะบริเวณขอบ Work Envelope ปลายแขนจะ
5. มีการสั่น ทำให้ความแม่ยำลดลง
การประยุกต์ใช้งาน
หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถใช้งานได้กว้างขวางเพราะสามารถเข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ได้ดี เช่น งานเชื่อม Spot Welding, Path Welding, งานยกของ,

หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น
  • อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
  • อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์  
  • อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล  
  • อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)  
  • อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ  
  • อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
  • อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
  • อุปกรณ์ x-ray
  • อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด
             สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ  
             หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว  และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้   เมื่อ   13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น
           ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป




หุ่นยนต์ที่เลียบแบบมนุษย์
อาซิโม (Ashimo) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยนด์ (Humanoid) หรือหุ่นยนต์ที่เลียนแบบท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น โดยฮอนด้า (Honda) ได้มีโครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) โดยเริ่มจากหุ่นยนต์ต้นแบบ E0-E6 ในปี ค.ศ.1986-1993 (พ.ศ.2529-2336) และ P1-P3 ในปี ค.ศ.1993-1997 (พ.ศ.2536-2540) จนกระทั่งสร้างหุ่นยนต์อาซิโม (Ashimo) สำเร็จขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543) และมีอาซิโมเวอร์ชันใหม่ในปี ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) ซึ่งมีความสามารถเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า รวมไปถึงความสามารถในการวิ่งของ อาซิโมรุ่นใหม่นี้สามารถวิ่งด้วยความเร็วมากถึง 9 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกในปัจจุบัน ต่างจากรุ่นก่อนหน้าที่สามารถวิ่งได้เพียง 6 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น และยังมีน้ำหนักน้อยลงเหลือ 48 กิโลกรัมเท่านั้น (รุ่นก่อนหน้าหนัก 54 กิโลกรัมต่างกันถึง 6 กิโลกรัม) มีความสูง 130 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความสูงที่พอเหมาะพอดีกับการทำงานในบ้านและในออฟฟิศเป็นอย่างมาก

ความสามารถของอาซิโม (Ashimo)

น่าทึ่งครับ กว่าจะมาเป็นอาซิโมอย่างทุกวันนี้ได้ ทีมวิจัยและพัฒนาได้ศึกษาการเคลื่อนที่และท่าทางของมนุษย์อย่างมากมาย ทำให้อาซิโมมีความสามารถต่าง ๆ ที่หลากหลาาย เช่น
1. การเดิน การเลี้ยว  การเดินนั้นอาซิโมสามารถเดินได้ด้วยความเร็ว 1.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยมีท่าทางการเดินที่เหมือนมนุษย์ ระหว่างการเดินจะมีการย่อตัวเล็กน้อย เพื่อปรับจุดศูนย์ถ่วงให้ไม่ล้ม โดยใช้เทคโนโลยี i-Walk เทคโนโลยีนี้ทำให้อาซิโมสามารถเดินไปข้างหน้า หรือเลี้ยวได้อย่างต่อเนื่องเร็วและนุ่มนวล
2. การวิ่ง อาซิโมสามารถวิ่งด้วยความเร็วที่มากถึง 9 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทำให้อาซิโมเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์(humanoid)ที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก โดยขณะที่อาซิโมวิ่งจะมีจังหวะที่ขาทั้งสองข้างยกสูงจากพื้นเป็นเวลา 0.08 วินาที
3. การเต้นรำ
4. การขึ้นบันได
5. การหลบหลีกสิ่งกีดขวาง เดินหลบผู้คนที่เดินเข้าหาได้ อาซิโมสามารถตรวจจับวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวได้ และคาดการณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุได้ ทำให้อาซิโมสามารถเดินหลบคนที่เดินเข้าหาได้ด้วย
6. กระโดดกระต่ายขาเดียวอยู่กับที่หรือไปข้างหน้าได้
7. กระโดดขาคู่สูงจากพื้นก็ทำได้เช่นกัน
8. การแยกแยะเสียงของคู่สนทนาที่มากกว่า 1 คน
9. การจดจำใบหน้าและนำไปยังสถานที่นัดพบ ทำให้อาซิโมเหมาะที่จะเป็นพนักงานต้อนรับเป็นอย่างมาก ปัจจุบันฮอนด้าได้ให้เช่าอาซิโมเพื่อใช้งานในประเทศญี่ปุ่น
10. การหยิบจับสิ่งของการถือถาดอาหาร การเสิร์ฟน้ำ  การไหว้และการทักทายจับมือโบกมือ อาซิโมสามารถถือสิ่งของด้วยมือข้างเดียวได้โดยอาซิโมสามารถถือของที่มีน้ำนหักได้ถึง 300 กรัม หากยกด้วยแขนสองข้างอาซิโมจะสามารถยกของที่หนักได้ถึง 1 กิโลกรัม
11. การเข็นรถเข็น
12. การเตะบอลไปยังเป้าหมาย
13. การตอบโต้ด้วยคำพูดอย่างง่ายได้ และรับฟังคำสั่งรวมถึงทำตามคำสั่งได้


วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เครื่องจักร NC

เครื่องจักร CNC (Computer Numerical Control)

คือ เครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติที่มีการทำงานด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยตัวเครื่องจะทำงานตามแบบที่เราได้จัดใส่โปรแกรมการทำงานเข้าไป และสามารถใช้ได้หลายภาษา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เครื่องจักรชนิดนี้กับงานโลหะที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำ หรือมีความซับซ้อนสูง โดยมีจุดประสงค์ในสร้างเครื่อง CNC ขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติในแบบรวดเร็ว แม่นยำ และสามารถทำงานในแบบที่ซับซ้อนได้ดี ด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมมุมต่างๆ ได้อย่างละเอียด ทำให้ชิ้นงานออกมาดีนั่นเอง

ข้อดีของเครื่องจักร CNC 
– มีความละเอียดในงาน ทำให้งานต่างๆ ออกมาได้มาตรฐาน
– งานมีคุณภาพและเท่ากันทุกชิ้น สั่งงานโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในเครื่องจักร ทำให้งานเกิดความผิดพลาดได้น้อยลง
– สามารถผลิตงานออกมาได้อย่างรวดเร็ว และใช้พื้นที่ในการทำงานน้อย ประหยัดพื้นที่ในการเก็บชิ้นงาน
– ทำงานได้ดีแม้ว่าชิ้นงานจะมีความยากและซับซ้อนสูง
– ช่วยลดเวลาในการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานลง และลดแรงงานในการผลิตลง

ข้อเสียของเครื่องจักร CNC 
– ตัวเครื่องมีราคาค่อนข้างสูงมาก
– หากเครื่องมีปัญหาต้องส่งซ่อมซึ่งมีราคาค่าซ่อมสูงมาก
– ต้องใช้งานเครื่องจักรเป็นประจำ หากปล่อยทิ้งไว้ในบางช่วงที่ไม่มีงานอาจทำให้เครื่องเสื่อมสภาพได้
– จำเป็นต้องมีพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เขียนโปรแกรม NC
– ไม่เหมาะกับงานจำนวนน้อยๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง
– การควบคุมของเครื่องเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องได้ผู้เขียนโปรแกรมที่ฝึกอบรมและมีความรู้เป็นอย่างดี



เครื่องจักร NC (Numerical Control)

คือ การควบคุมเครื่องจักรกลด้วยระบบตัวเลขและตัวอักษร  ซึ่งคำจำกัดความนี้ได้จากประเทศสหรัฐอเมริกา  กล่าวคือ  การเคลื่อนที่ต่าง ๆ  ตลอดจนการทำงานอื่น ๆ  ของเครื่องจักรกล  จะถูกควบคุมโดยรหัสคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวเลข  ตัวอักษร  และสัญลักษณ์อื่น ๆ  ซึ่งจะถูกแปลงเป็นเคลื่อนสัญญาณ (  Pulse )  ของกระแสไฟฟ้าหรือสัญญาณออกอื่น ๆ  ที่จะไปกระตุ้นมอเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อทำให้เครื่องจักรกลทำงานตามขั้นตอนที่ต้องการ

ข้อดีของเครื่องจักร NC
-ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไร้ประโยชย์
-มีความแม่นยำสูง
-เชื่อมโยงกับ CAD ได้
-เพิ่มความยืดหยุ่นในการผลิต เปลี่ยนลักษณะการทำงานได้ง่าย

ข้อเสียของเครื่องจักร NC
-การบำรุงรักษาที่ซับซ้อน
-จำเป็นต้องมีช่างเขียนโปรแกรมที่มีทักษะสูง
-ราคาเครื่องจักรมีราคาสูง



เครื่องจักร DNC ( Distribution Numerical Control)

คือ ะบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน


ลักษณะพิเศษ DNC
-ตั้งคอมพิวเตอร์ห่างจากเครื่องได้
-ควบคุมจากศูนย์กลาง




วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีการสื่อสาร



เทคโนโลยีกล้องดิจิตอล


   ความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีการถ่ายภาพในระบบดิจิตอลนับว่ามีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เริ่มต้นจากการพัฒนาความสามารถในการเก็บภาพที่มีความละเอียดมากขึ้น แต่วันนี้ไม่เพียงแค่ความละเอียดเท่านั้น ที่เราต้องการ เพราะความสมจริงและสามารถเทียบเคียงได้กับภาพที่ได้จากระบบฟิล์ม กลับเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากกว่า
ความนิยมในการใช้งานกล้องดิจิตอลนับวันจะมีเพิ่มมากขึ้น เพราะความสะดวกที่มีมากกว่ากล้องแบบใช้ฟิล์มธรรมดา เช่น การถ่ายภาพแล้วมองเห็นได้ทันทีซึ่งนอกจากจะสะดวกต่อการตรวจสอบว่าภาพมีความบกพร่องตรงไหนบ้างแล้ว ยังสามารถนำไปใช้งานเพื่อการตบแต่งภาพได้เลย และยังสะดวกก็ตรงที่สามารถเลือกภาพที่ต้องการได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และที่สำคัญก็คือราคาของกล้องดิจิตอลนั้นลดลงมารวดเร็ว จนราคาของกล้องที่มีประสิทธิภาพพอสมควร นั้นไม่แตกต่างไปจากกล้องแบบใช้ฟิล์มในระดับคุณภาพเท่าๆ กัน 
ในระบบของการทำงานของกล้องดิจิตอลนั้น การทำงานโดยทั่วๆ ไปแทบจะเรียกว่าไม่แตกต่างไปจากกล้องแบบฟิล์มเลย จะแตกต่างก็คือการรับภาพเพื่อนำไปเก็บไว้ในการ์ดหน่วยความจำนั้น จะใช้เซนเซอร์ซึ่งทำหน้าที่รับแสงที่ตกกระทบผ่านเข้ามาทางเลนส์ของกล้อง แทนที่การใช้ฟิล์มเป็นตัวตกกระทบของแสงสำหรับในกล้องฟิล์มปัจจุบัน และข้อมูลแสงที่ได้จากเซนเซอร์นี้ ก็จะถูกนำไปสร้างเป็นข้อมูลภาพและเก็บลงในหน่วยความจำต่อไป 
เซนเซอร์สำหรับรับภาพของกล้องดิจิตอลนี้ เราจะเรียกกันตามเทคโนโลยีในการจัดเก็บภาพก็คือมาตรฐานของ CCD (Charge Coupled Device) และ CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor) ซึ่งเซนเซอร์ทั้งสองชนิดนั้นต่างก็มีหลักการทำงานที่คล้ายๆ กัน แต่สำหรับกล้องดิจิตอลทั่วๆ ไป มักจะนิยมนำ CCD มาใช้งานมากกว่า เนื่องจากมีความไวในการทำงานค่อนข้างสูง ส่วน CMOS นั้นมักจะถูกนำไปใช้งานเป็นเซนเซอร์ของกล้องดิจิตอลราคาถูกหรือว่ากล้อง Web Cam ทั่วๆ ไป แต่ก็ไม่ใช่ว่าเจ้า CMOS นั้นจะไม่มีประสิทธิภาพ เพราะผู้ผลิตกล้องหลายๆ รายได้นำเทคโนโลยีตัวนี้ไปใส่ในกล้องระดับไฮเอนด์ของตัวเองเหมือนกัน เพราะมันเป็นเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงานมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้กับกล้องที่มีขนาดเซนเซอร์ค่อนข้างใหญ่ เช่น กล้องแบบ D-SLR ทั้งหลาย ซึ่งผู้ผลิตเหล่านั้นได้ได้พากันพัฒนาเซนเซอร์แบบ CMOS ให้มีประสิทธิภาพได้ใกล้เคียงกับ CCD ได้เลยทีเดียว แต่ CMOS ก็นิยมใช้เฉพาะกับกล้องระดับไฮเอนด์เท่านั้น อาจจะเป็นเพราะเมื่อเปรียบเทียบกับกล้องขนาดเล็กซึ่งมีขนาด CCD ค่อนข้างเล็ก ทำให้การใช้พลังงานและราคาของการผลิตนั้น ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ผลิตจึงเลือกที่จะใช้เซนเซอร์แบบ CCD มากกว่า 
ภาพเซนเซอร์


โดยหลักๆ แล้ว เทคโนโลยีของเซนเซอร์รับภาพ แม้จะแบ่งเป็นสองลักษณะการทำงานก็คือ CCD และ CMOS แต่หากพูดว่าภาพในกล้องดิจิตอลจะถูกเก็บลงไปยังหน่วยความจำแบบใด ก็ยังมีเทคโนโลยีของการรับภาพมาให้ทำความรู้จักกันอีก เพราะมีทั้งเทคโนโลยีปัจจุบันและเทคโนโลยีใหม่ ให้เลือกใช้งาน ซึ่งรายละเอียดนี้ก็คงจะตอบได้ว่าทำไมกล้องดิจิตอลถึงรับภาพได้ยังไม่เท่ากับฟิล์ม และอีกนานเท่าใดกล้องดิจิตอลถึงจะสามารถใช้แทนที่กล้องฟิล์มได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ถึงตอนนี้แม้กล้องดิจิตอลจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่หลายๆ คนก็ยังอาจจะติว่าภาพที่ได้จากกล้องดิจิตอล ยังไงๆ ก็ยังให้คุณภาพที่ไม่สมบูรณ์อยู่ดี เรียกว่ายังมีเรื่องของความละเอียดสี ขาดๆ เกินๆ อยู่บ้าง เช่น อาจจะมีสีเหลืองเกินมามากกว่าปกติ ซึ่งก็ต้องทำใจไปเพราะกล้องดิจิตอลปัจจุบันยังคงใช้เซนเซอร์รุ่นเก่าที่ยังไม่สามารถถ่ายภาพแล้วให้เฉดสีทุกๆ สี มาเก็บในหน่วยความจำได้ สมบูรณ์แบบเหมือนกับฟิล์ม โดยเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นจะเก็บข้อมูลจากเรียกว่า Mosaic นั่นเอง 
แต่โฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์กล้องดิจิตอลกำลังจะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ด้วยเทคโนโลยีเซนเซอร์แบบใหม่ที่สามารถจับภาพลงสู่ข้อมูลภาพแบบดิจิตอลได้สมบูรณ์แบบเหมือนกับระบบการใช้ฟิล์ม ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาแล้วในนามของ Foveon X3 ที่สามารถเก็บรายละเอียดสีได้สมบูรณ์แบบในทุกๆ พิกเซล ซึ่งหากสงสัยว่าทำไม Foveon X3 ถึงได้ดีกว่านั้น เราต้องไปทำความเข้าใจกับการเก็บภาพในระบบของ Mosaic ก่อน เพื่อจะได้ทำความเข้าใจกับ Foveon X3 ได้ชัดเจนขึ้น 
สำหรับใครที่สงสัยว่าเซนเซอร์ทั้งแบบ Mosaic และ Foveon X3 นั้นแตกต่างจาก CCD และ CMOS อย่างไรนั้น ต้องขอบอกไว้ตรงนี้ก่อนว่า CCD และ CMOS นั้นเป็นหลักการทำงานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวกับการใช้พลังงานและความไวของการรับภาพเป็นหลัก แต่สำหรับ Foveon X3 และ Mosaic นั้นเป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ ซึ่งเซนเซอร์แบบ Foveon X3 และ Mosaic สามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบของ CCD และ CMOS เพื่อไม่ให้เสียเวลา ตอนนี้เราก็ไปทำความรู้จักกับการทำงานของ Mosaic กันดีกว่า
อย่างที่บอกว่าในปัจจุบันนี้กล้องดิจิตอลนั้น ใช้รูปแบบของการเก็บภาพแบบ Mosaic กันเป็นหลัก เนื่องจาก Foveon X3 นั้น เพิ่งได้เริ่มต้นการเปิดตัวไปไม่นานนี้เอง ซึ่งผลลัพธ์จะดีหรือไม่ดี และจะทำให้กล้องมีราคาแพงมากขึ้นหรือเปล่า ยังต้องใช้เวลาในการพิสูจน์อยู่ ดังนั้นกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ที่เราเห็นและใช้งานกันในปัจจุบันจะเป็นแบบ Mosaic มากกว่า หลักการทำงานหลักของเซนเซอร์ในระบบ Mosaic Technology นี้ ก็คือพิกเซลแต่ละพิกเซลของเซนเซอร์จะประกอบด้วยพิกเซลสำหรับรับแสงวางเรียงต่อกันเป็นตาราง โดยแต่ละพิกเซลนั้นจะมีความสามารถในการรับแสงที่แตกต่างกัน ซึ่งแสงที่รับเข้ามานั้นจะประกอบด้วยแม่สีทางแสงก็คือ R (Red), G (Green) และ B (Blue) ตามไดอะแกรมของเซนเซอร์ในภาพ 

   ความคิดเห็น

ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปรงโครงสร้างของกล้องดิจิตอลให้มีขนาดที่เล็กลงมีความจำสำรอง
   วิเคราะห์ทบความ
   ถ่ายภาพแล้วมองเห็นได้ทันทีซึ่งนอกจากจะสะดวกต่อการตรวจสอบว่าภาพมีความบกพร่องตรงไหนบ้างแล้ว ยังสามารถนำไปใช้งานเพื่อการตบแต่งภาพได้เลย และยังสะดวกก็ตรงที่สามารถเลือกภาพที่ต้องการได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
   ข้อดี
-เก็บภาพได้มากขึ้น
-ภาพคมชัด
-มีเซนเซอร์ในระบบช่วยในการทำงานเร็วขึ้น
   ข้อเสีย
-ราคาแพง
-เครื่องมีขนาดใหญ่พกพาลำบาก

วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วิชา คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม


เนื้อหาประจำวิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม


บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในงานอุตสาหกรรม
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
บทที่ 4 ระบบประมวลผล 
บทที่ 5 เครื่องจักรกลNC
บทที่ 6 หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
บทที่ 7 ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ
บทที่ 8 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
บทที่ 9 PL.C/PC
บทที่ 10 คอมพิวเตอร์กับการผลิต
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงงานผลิตดีแม็ก

ประวัติส่วนตัว




ประวัติส่วนตัว

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ภาพเซลฟี่ และ ภาพระยะใกล้

ชื่อ นายชาติศิริ รัตนชู
ชื่อเล่น ติ๊บ
วันเกิด 6 กันยายน 2538
ที่อยู่ 129 ม.13 ต.ควนมะพร้าว อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง
จบมาจาก วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง
 สาขา เทคนิคยานยนต์
งานอดิเรก ดูหนังฟังเพลง
กีฬาที่ชอบ สนุกเกอร์
สิ่งที่ชอบ รถแข่ง
สีที่ชอบ สีเขียว
สัตว์เลี้ยงที่ชอบ วัวชน,นกกรงหัวจุก
กำลังศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
คณะ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สาขา เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
รหัสนักศึกษา 606705049
เบอร์โทรศัพท์ 094-2020509

สมาชิกการจัดการ60 ห้องB

สมาชิกในชั้นเรียน   อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค     อาจารย์ปาล์ม 1. นายเกียรติศักดิ์ เกตุอักษร       ไฟท์ 2.นายจรณะ แท่งทอง     เปา 3.น...